หน้าแร  

เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบกับนาข้าวในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง เกษตรกรจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีในการปลูกข้าวจากรูปแบบเดิมที่มีการใช้น้ำในปริมาณที่มาก หันมาปลูกข้าวในรูปแบบการทำนา “เปียกสลับแห้ง” เพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของปริมาณน้ำที่อาจจะไม่เพียงพอ และเพื่อเป็นการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 30 -50 ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการทำนาแบบให้น้ำขังตลอดฤดูปลูกซึ่งเป็นวิธีปกติของชาวนาทั่วไปจะต้องใช้น้ำประมาณ 1,200 ลบ.ม./ไร่/ฤดู อีกทั้ง ยังช่วยลดต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสูบน้ำได้ร้อยละ 30 นอกจากนี้ ในสภาพดินแห้ง รากข้าวได้รับอากาศสามารถแตกรากข้าวใหม่มากขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ทนต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ดีขึ้น ช่วยลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกั้าวอีกทางหนึ่ง 
สำหรับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าวมีขั้นตอน ดังนี้ 1) เตรียมดิน 2) ปรับให้พื้นที่สม่ำเสมอ 3) ปลูกข้าว (หว่าน ปักดำ หรือหยอด) 4) ถ้าปลูกด้วยวิธีการหว่าน หลังหว่านระบายน้ำให้แห้งเพื่อให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอ พ่นสารคุม-ฆ่าวัชพืชหลังหว่าน 10 วัน และเอาน้ำเข้าแปลงหลังพ่นสารภายใน 2 วัน ประมาณครึ่งต้นข้าว รักษาระดับน้ำจนถึงช่วงการใส่ปุ๋ยรองพื้น 5) เมื่อข้าวอายุ 20 - 25 วันให้ใส่ปุ๋ยรองพื้น 6) หลังหว่านปุ๋ยปล่อยน้ำในนาให้แห้งไปโดยธรรมชาติจนน้ำอยู่ที่ระดับ 15 ซม.ใต้ผิวดิน สูบน้ำเข้าแปลงจนระดับน้ำสูง 5 ซม.เหนือผิวดิน จากนั้นปล่อยน้ำให้แห้งไปตามธรรมชาติ ทำสลับกันไปจนถึงช่วงการใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าระยะข้าวแต่งตัว 7) ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า และรักษาระดับน้ำในแปลงให้อยู่ที่ 5 ซม.เหนือผิวดิน จนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน จึงปล่อยให้แปลงแห้งเพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว และในส่วนการดูระดับน้ำ ให้เกษตรกรติดตั้งท่อดูน้ำ 1-2 จุด ในแปลงนา ซึ่งท่อจะทำหน้าที่ดูระดับน้ำในดิน โดยใช้ท่อพีวีซีขนาดความยาว 25 ซม.เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว เจาะรูด้วยสว่านเส้นผ่านศูนย์กลางหุนครึ่งถึงสองหุน 4-5 แถวรอบๆ ท่อ แต่ละรูห่างกัน 5 ซม.ฝังลงไป 20 ซม.ให้ปากท่อโผล่ขึ้นพ้นผิวดิน 5 ซม.เพื่อตรวจดูดินน้ำและความชื ้นภายในดิม

****ภาพ /ข่าว : ว่าที่ ร.ต.อาทิตย์ อุ่นนาแซง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสงคราม
จังหวัดนครพนม โทรศัพท์ 0-4259-9166
E-mail:
srisongkhram@doae.go.th